วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

            แนวคิดการน าใช้ DSS Tools เพื่อพยากรณ์ คาดการณ์และปรับปรุงผลผลิตพืช

กิจกรรมการพยากรณ์ คาดการณ์ และการปรับปรุงผลผลิตรวมของพืชเป็นกิจกรรมที่สร้างผลงานให้เชื่อมระบบการผลิตพืชในระดับแปลงผลิตเข้ากับการวางแผนผลิตอาหารสัตว์ในระดับกลุ่มบริษัทและผู้ประกอบการซึ่งเป็นวัตถุดิบเชื่อมต่อและป้อนสู่อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ในฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยถึงฟาร์มของบริษัท กิจกรรมดังกล่าวจึงมีความส าคัญต่อระบบการผลิตพืชในระดับแปลงผลิตและการวางแผนผลิตอาหารสัตว์ ทั้งสามกิจกรรมใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีแตกต่างกันและหลากหลาย

การพยากรณ์และคาดการณ์ผลผลิตรวมของพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตรวม (Crop Production) ในระดับแปลง
สามารถค านวณได้หากมีข้อมูลผลผลิตพืชเฉลี่ย (Crop yield) ในแต่ละช่วงพัฒนาการของพืชและข้อมูลขนาดพื้นที่แปลงพืช (Crop planted area) พร้อมต าแหน่งพิกัด ผลผลิตพืชเฉลี่ยในแต่ละช่วงพัฒนาการของพืชสามารถค านวณได้หากมีข้อมูลเกี่ยวกับ พันธุกรรมของพันธุ์พืช การจัดการและการดูแลรักษาพืช สภาพภูมิอากาศและกาลอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ของดินในด้านน้ าและด้านธาตุอาหารตามความต้องการในแต่ละช่วงพัฒนาการของพืช เป็นต้น ส่วนข้อมูลขนาดพื้นที่แปลงพืชพร้อมต าแหน่งพิกัดสามารถสร้างให้อยู่ในรูปแบบแผนที่ซึ่งท าให้ได้ข้อมูลเขตภูมิอากาศ ขอบเขตชุดดิน และระดับความสูงต่ าจากระดับน้ าทะเล หน่วยงานที่ลงทุนพัฒนาระบบสารสนเทศซึ่งออกแบบให้ผู้ใช้งานเชื่อมโยง
ข้อมูลผลผลิตพืชเฉลี่ยและข้อมูลขนาดพื้นที่แปลงพืชจะสามารถพยากรณ์และคาดการณ์ผลผลิตรวมของพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตรวม (Crop Production) เป็นระบบเอื้อให้ท าการค านวณซ้ า ตรวจสอบ เชื่อมโยงข้อมูลในภาคสนามและข้อมูลหน่วยงานกลาง และยืนยันผลในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการปรับปรุงผลผลิตพืชรวมในแต่ละพื้นที่ได้โดยการวิเคราะห์ช่องว่างของผลผลิตพืช (Crop yield gap analysis) ท าให้ชี้แนะปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องและจัดการเพื่อลดช่องว่างของผลผลิตพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น